ประกาศ

ช่วงนี้ผู้เขียนกำลังทำงานด้านระบบคลาด์ Amazon Web Services (AWS) ให้พร้อมใช้งานกับประเทศไทยอยู่นะครับ อาจจะไม่ได้ลงบทความใหม่ๆ อีกสักระยะ สามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่ www.gosky.co.th นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

บริการ Public Cloud จาก VMware - vCloud Air

เมื่อพูดถึง VMware ในวงการ IT คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก และเมื่อพูดถึงชื่อนี้เราก็จะมักคิดถึงเรื่อง Virtualization เป็นอย่างแรกเช่น VMware workstation หรือ vSphere ซึ่งก็คือ product แจ้งเกิดให้กับ VMware นั้นเอง

วันนี้ product และ solution ของ VMware ได้รับการพัฒนาและเพิ่ม Feature Function ต่างๆ ขึ้นมากมาย หนึ่งใน product นั้นก็คือ Public Cloud ของ VMware ที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน 2013 ในชื่อ vCloud Hybrid Service (vCHS) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น vCloud Air




ปัจจุบัน (เม.ย. 58) มีจำนวน Data Center (DC) ทั้งหมด 11 แห่งทั่วโลก สำหรับในเอเชียมีอยู่แห่งเดียวที่ประเทศญี่ปุ่น ราคาค่าบริการของแต่ละ DC ไม่เท่ากันแต่ก็ไม่ได้ต่างกันมาก การใช้งานและบริหารจัดการทำได้ผ่านหน้าเว็บ web portal ที่ https://vca.vmware.com/ หรือถ้าใครมี vSphere อยู่แล้วก็สามารถ manage ผ่าน vSphere Client ได้เช่นกัน

Virtual Machine (VM) ใน vCloud Air สามารถกำหนด Compute Spec ได้สูงสุดที่ 64x128 หรือก็คือ vCPU 64 Cores และ vRAM 128 GB มี Storage ให้เลือก 2 แบบคือ Standard (จานหมุน) และแบบ SSD (Flash based) ลักษณะของ vCloud Air เน้นไปที่ Infrastructure as a Service (IaaS) เป็นหลัก มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ Dedicated Cloud, Virtual Private Cloud (VPC) และ Virtual Private Cloud OnDemand ซึ่งจะแตกต่างกันในเรื่องของ Performance, Limitation และราคา

นอกจากนั้นยังมี Disaster Recovery as a Service (DaaS) เพื่อเป็น DR solution ให้ลูกค้า VMware ในลักษณะ Warm standby site หรือว่าเป็นระบบสำรองให้กับ vSphere on-premise และ vCloud Air นั้นเอง

เทคโนโลยีของ vCloud Air ถูกพัฒนาและมีแกนระบบที่นำมาจาก vSphere + vCloud suite, NSX, vSAN ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นโครงสร้างและ platform ที่ใช้งานกันใน Private Cloud นั้นเอง แน่นอนว่า VMware เป็นผู้พัฒนาและดูแลเองทั้งหมด

รูปด้านล่างแสดงให้เห็นความแตกต่างของ Resource ขั้นต้นของแต่ละ product ใน vCloud Air



1. Dedicated Cloud
เป็นแบบ Single-tenant ที่แยกเครื่อง Physical Hosts เพื่อทำหน้าที่ Compute (CPU กับ RAM) โดยเฉพาะ ทำให้ได้ประสิทธิภาพด้าน Processing สูงสุด แต่สำหรับ Network และ Storage เป็นแบบ Multi-shared อยู่บน Infra เดียวกันร่วมกับผู้เช่าอื่นๆ ซึ่งเหมือนกับแบบ VPC, OnDemand และ DR อย่างไรก็ตามทั้งหมดเป็น fully private logical isolated ทั้งหมด

ราคาเริ่มต้น 320K ไปถึง 4.5M ต่อเดือน
สามารถสร้าง Virtual Data Center (VDC) ได้มากกว่า 1 อันและกำหนด Resource เพื่อแบ่งให้แต่ละส่วนงานหรือ Org ไปจัดการต่อเองได้อีกทอดนึ่ง
สามารถสร้าง Gateway ได้มากกว่า 1 ตัวในหนึ่ง VDC แต่ละ Gateway สามารถนำไปสร้างได้ 9 Zones
Resource ขั้นต้นสามารถสร้าง VM ได้สูงสุดประมาณ 30 เครื่อง โดยคำนวณจาก vRAM 120 GB / 4 GB


เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องการแบ่ง Segment ระบบชัดเจนและกระจายการบริหารจัดการให้ดูแลกันเองได้



2. Virtual Private Cloud (VDC)
เป็นแบบ multi-tenants โดย Resource ทุกอย่างอยู่บน Infra เดียวกันทั้งหมด เสมือนกับว่าเราเป็นหน่วยย่อยใน Dedicated Cloud อีกที และ feature function บางอย่างจะน้อยกว่า

ราคาเริ่มต้น 36K ไปถึง 1M ต่อเดือน
สามารถใช้ได้แค่ VDC เดียว และมี Gateway ได้แค่ตัวเดียวเท่านั้น
Resource ขั้นต้นสามารถสร้าง VM ได้สูงสุดประมาณ 5 เครื่อง (vRAM 20 GB / 4 GB)




เหมาะสำหรับทุกขนาดองค์กร โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นและองค์กรขนาดเล็ก สามารถใช้เป็น Virtual Data Center ของตนเองได้ทันทีเพราะราคาไม่สูงมากนัก และความสามารถพื้นฐานมีให้ครบทั้งหมด

3. Virtual Private Cloud OnDemand
เป็นเหมือนลูกผสมระหว่าง Dedicated และ VPC เนื่องจากสามารถสร้าง VDC ได้มากกว่า 1 อันเหมือน Dedicated แต่ระบบเป็นแบบ multi-shared และสร้าง Gateway ได้ 1 อันต่อ 1 VDC แบบ VPC และจุดเด่นอื่นๆ ได้แก่
- ไม่มี Contract ระยะยาว เช่น ใช้ Resource แค่ 1 วันแล้วหยุดใช้ ก็จ่ายค่าบริการเฉพาะที่ใช้ไปแค่ 1 วัน (คิดเป็นชั่วโมง) การลงทุนและความเสี่ยงแรกเริ่มจึงน้อยที่สุด ส่วนสองแบบแรกนั่นต้องจ่ายขั้นต่ำอย่างน้อยคือ 1 เดือน
- สามารถกำหนด Resource แรกเริ่มได้ตามต้องการตั้งแต่ vCPU 1 core กับ vRAM 1 GB และคิดเงินจากปริมาณ Resource ที่จองไว้เป็นชั่วโมง ไม่ต้องเหมาจ่ายล่วงหน้า
- สามารถจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิดหรือจะจ่ายแบบ Subscription ก็ได้
- ราคาเริ่มต้นที่หลักพันบาทไปถึงหลักล้านบาทต่อเดือน

VPC OnDemand ถือได้ว่าเป็นรูปแบบที่ครบเครื่องและหยืดหยุ่นที่สุด ทั้งเรื่อง Resource และการคิดค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามจริงเท่านั้น แต่ก็มีราคาเฉลี่ยที่สูงตามไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้แบบ OnDemand กับแบบ Dedicated และ VPC ไปพร้อมๆ กันได้ แต่ Resource ไม่สามาถเอามารวมกันได้ นั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งานครับ

*VPC OnDemand ให้บริการได้จาก DC แค่ 5 แห่งจากทั้งหมด 14 แห่ง สำหรับ DC ใกล้สุดที่ให้บริการ OnDemand คือที่ออสเตรเลีย ซึ่งที่ญี่ปุ่นยังไม่มีบริการนี้ครับ

2 รูปด้านล่างเป็นหน้าจอ vCloud Air ไว้ดูและควบคุมภาพรวม และหน้าจอ vCloud Director ไว้ดูและควบคุมในเชิงลึก

หน้าจอ vCloud Air มี Virtual Data Center 3 อัน


หน้าจอ vCloud Director กดเข้ามาผ่านหน้า vCloud Air


4. Disaster Recovery as a Service (DRaaS)
เป็นได้ทั้ง site และระบบสำรอง (Warm Standby) ให้กับ vSphere on-premise และระบบที่อยู่ใน vCloud Air แต่จะต้องซื้อต่างหากและใช้ได้กับ product ของ VMware เท่านั้น ตัวอย่างการใช้งานก็คือ ถ้า vSphere on-premise ล่มก็ย้ายไปใช้ที่ vCloud Air หรือถ้า vCloud Air ที่ญี่ปุ่นล่มก็ย้ายไปใช้ที่ US แทนเราสามารถทำการทดสอบ Fail-over และ Fail-back ได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้เพื่อเป็นซ้อมขั้นตอนและพิสูจน์ได้ว่าระบบ DR ใช้งานได้จริง

ราคาเริ่มต้น 30K ไปถึง 500K ต่อเดือน
โครงสร้างของระบบเหมือนกับ VPC เพียงแต่เป็นแบบ Warm Standby
Resource ขั้นต้นเหมือนของ VPC แต่ได้ Storage ลดลงที่ขนาด 1 TB







DaaS ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับ product ของ VMware เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับลูกค้าดั้งเดิมที่ใช้ VMware แล้วกำลังมองหา DR solution ให้ระบบเดิมของตัวเองอยู่ครับ


จุดเด่นของ vCloud Air
- หน้า GUI friendly กับผู้ใช้และใช้งานง่าย รวมถึงสามารถ manage vCloud Air ผ่าน vSphere Client ได้
- ออกแบบมาเพื่อใช้งานแบบ IaaS โดยเฉพาะ และใช้งานได้ครบทุก Feature Function จากราคาขั้นต้น ทำให้สามารถกำหนดทิศทางการใช้งานและพัฒนาระบบได้ง่ายและมีขอบเขตชัดเจน
- Benchmark ในเรื่อง Performance ของ VM นั้นดีกว่าเมื่อเทียบ VM spec เดียวกันกับเจ้าอื่น
- ประสานระบบร่วมกับ VMware product ด้วยกัน เช่น vSphere หรือ vCloud suite (private cloud) เพื่อเป็น Hybrid Cloud ได้สมบูรณ์ที่สุด
- การกำหนดและควบคุม Resource CPU, RAM, Storage ให้กับ VM และ VDC มีความหยืดหยุ่นสูงมาก
- การปรับเพิ่มลด Resource ให้กับ VDC หรือ VM  ทำได้ทันทีโดยที่ไม่กระทบต่อระบบ ไม่ต้องลบ, Shutdown หรือ Pause (Windows Server 2008 ขึ้นไปและ Linux distros) ทำให้การ Utilize Resource มีประสิทธิภาพมาก
- ความสามารถของ Tools ในการ Config และบริหารจัดการระบบ VM, Network และ Security สูงมาก
- การ Import/Export VMware image ทำได้เลยโดยไม่ต้อง Convert มั่นใจได้ว่า Compatible 100%
- มีการทำ Redundancy Cloud System ของเราใน Data Center เดียวกันให้โดยอัตโนมัติ กรณี System หรือ Physical Host ที่เรากำลังใช้งานเกิดเสียหรือมีปัญหาเรื่อง performance ระบบจะทำการ Move หรือ Balance ไปอีก System หรือ Host อื่นให้โดยอัตโนมัติ โดยข้อมูลทุกอย่างจะคงอยู่เหมือนเดิม เช่น Hostname, IP, MAC, Gateway รวมถึง configuration อื่นๆ ด้วย ลดความเสี่ยงที่ระบบจะล่มอันเนื่องมาจาก Configuration หรือ System files ที่เปลี่ยนไป (อันนี้เหมือนกับมี vSphere High Availability)
- DRaaS ใน vCloud air คือระบบสำรองที่ออกแบบสำหรับ product ของ VMware ง่ายต่อการบริหารจัดการและช่วยลดปัญหาเรื่อง Compatibility



จุดด้อยของ vCloud Air
- ไม่มี Product ที่เป็น PaaS ทำให้ไม่ตอบโจทย์เรื่อง DevOps ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญต่อนักพัฒนาโปรแกรมและการบริหารจัดการระบบในภาพรวม
- ไม่มี Product หรือ Tool ที่ช่วยต่อยอดประสิทธิภาพของระบบ เช่นเรื่อง Analytic, Content Delivery, User Directory, Development tools ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็น cost อื่นๆ ในภายหลัง รวมถึงประเมินความคุ้มค่าของระบบได้ยากขึ้น
- Data Center อยู่ไกลจากประเทศไทย ทำให้อาจมีปัญหาเรื่อง BW และ Network Latency โดยเฉพาะการรับส้งข้อมูลขนาดใหญ่และ application บางตัวที่ sensitive ต่อ latency
- ระบบ User และ Authentication จะต้องสร้างและกำหนดใหม่ทั้งหมด ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ AD เดิมได้
- Security Control ทำได้ที่ระดับ Gateway เท่านั้น ไม่สามารถทำที่ระดับ Machine ได้
- Compliance และ Certified ที่มีถือว่ายังมีน้อยเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่น
- Model การ Scale เป็นรูปแบบ Vertical มากเกินไปทำให้การ Distribute ระบบเพื่อ Balancing ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ข้อมูลจาก VMware ระบุว่าในปี 2015 จะได้เห็นความสามารถทางด้านการทำ Auto-Scaling, Logging, Advanced Monitoring เพิ่มมากขึ้น รวมถึงด้านอื่นๆ อีก ซึ่งก็น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ vCloud Air นั้นเอาชนะใจลูกค้าทั่วโลกที่กำลังจะหันไปใช้ Public Cloud กันเป็นจำนวนมากได้อย่างไร

โดยสรุป
vCloud Air เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เน้นใช้งานทางด้าน Infrastructure และการ Utilization Resource เป็นหลัก มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานและเข้าใจง่ายสำหรับการกำหนดโครงสร้างโดยรวมของระบบผ่าน vCloud Air และ vCloud Director และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขยายและต่อยอดระบบ vSphere หรือเพื่อทำเป็น Hybrid Cloud หรือเป็น DR site ให้กับระบบตนเอง โดยไม่ต้องไปลงทุนด้าน Hardware เอง 
vCloud Air จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับ VMware อยู่แล้วและผู้ใช้ทั่วไปที่กำลังมองหา Virtual Data Center ไว้ใช้งานในช่วงแรกและมีแผนสร้าง Private Cloud ขึ้นเองในอนาคต 

ด้านเครื่องไม้เครื่องมือในการสร้างและพัฒนาระบบเชิงลึกถือว่ามีน้อยและยังขาดความเป็น Convergent พอสมควร เมื่อเทียบกับ AWS สำหรับ Developer และ Programmer ที่ต้องการพัฒนาโปรแกรมบน Cloud, vCloud Air จึงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมเ ซึ่งเจ้าป่า AWS หรือเจ้าโลก Google App Engine เป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่ามากครับ

ผู้ที่สนใจจะใช้งาน vCloud Air ไม่ว่าจะจาก DC ที่ญี่ปุ่นหรืออสเตรเลีย ให้พิจารณาในเรื่อง Bandwidth และ Network Latency เป็นหลักว่าจะมีผลกระทบต่อการใช้งานหรือแอพพลิเคชั่นอย่างไรหรือไม่

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านเห็นภาพรวมและการเลือกใช้งาน vCloud Air มากขึ้นนะครับ ท่านใดสนใจอยากลองใช้งานก็ Sign Up ใช้แบบ OnDemand ที่ให้ Credit $300 ใน 90 วัน จาก DC ที่ออสเตรเลีย ก่อนตัดสินใจใช้งานอย่างจริงจังแบบ Subscription (Pre-paid) ได้ที่นี้เลยครับ

http://vcloud.vmware.com/service-offering/virtual-private-cloud-ondemand

Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment