ประกาศ

ช่วงนี้ผู้เขียนกำลังทำงานด้านระบบคลาด์ Amazon Web Services (AWS) ให้พร้อมใช้งานกับประเทศไทยอยู่นะครับ อาจจะไม่ได้ลงบทความใหม่ๆ อีกสักระยะ สามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่ www.gosky.co.th นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

ตอนที่ 2 - Cloud Computing ลักษณะหน้าตาเป็นยังไง?

ลักษณะ Cloud Computing 5 ประการ (Essential Characteristics)



รูปจาก> http://www.vyomtech.com/


ในบทความก่อนหน้านี้เราได้รู้กันแล้ว่า Cloud Computing (CC) นั้นให้บริการอะไรบ้าง คราวนี้เรามาดูว่าการจะเป็นผู้ให้บริการ CC หรือจะเรียกว่า Cloud Service Provider (CSP) นั้นจะต้องออกแบบระบบให้มีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่ง CSP ที่ว่านี้อาจะเป็นผู้ที่ดูแล private cloud ในองค์กรเราหรือเป็นผู้ดูแลภายนอกที่ดูแล public cloud ให้เราอยู่ก็ได้นะครับ

อย่างแรกเลย...
1. อยากใช้เมื่อไหร่ สามารถทำได้เองและใช้ได้ทันที(On-demand self-service) 
สมมุตืว่าตอนนี้เราต้องการใช้ Cloud ขึ้นมาหล่ะก็ สามารถไปยังหน้าเว็บไซด์ของผู้ให้บริการแล้วทำการ เลือกรูปแบบ จ่ายตั้งค์ผ่านบัตรเครดิด และเริ่มใช้ได้ทันที โดยทุกขั้นตอนสามารถทำผ่านหน้า WebUI ของ CSP ได้ทั้งหมด และที่สำคัญคือไม่ต้องโทรแจ้งใคร ไม่ต้องรอใคร ไม่ต้องทำใบสั่งซื้อ แค่คลิ๊กเลือกๆ ทุกอย่างก็พร้อมให้คุณใช้งานได้ทันที ตัวอย่างเช่น ต้องการ Server CPU 4 Cores, RAM 32 GB, Storage SSD 128GB พร้อมกัน Windows Server 2008 R2 ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองทันที ทาง CSP จะจัด Resource มาให้ เราก็ Remote ไปยัง Server นั้นได้เลยพร้อมสิทธิ์ Admin เต็มที่เลยครับ

2. เข้าได้จากทุกหนแห่งหรือจะจำกัดก็ได้ (Broad network access)
โดยพื้นฐานแล้วระบบ Cloud คือระบบที่มุ่งเน้นให้บริการ ดังนั้นการเข้าถึงจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับว่าเราจะกำหนดให้ใครเข้าถึงระบบได้บ้าง อาจจะเป็นทุกคนบนโลกใบนี้ หรือเฉพาะคนในองค์กร ในทีมงานหรือเฉพาะเราเพียงคนเดียวเท่านั้น มันขึ้นกับ Policy และ Service ที่เราเลือก อย่างไรก็ตาม Cloud จะต้องรองรับการเชื่อมต่อในหลายๆ ระดับ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่หลากหลาย

3. รวมทุกอย่างไว้เป็นหนึ่ง แล้วเลือกใช้ทีละส่วน (Resource pooling)
ในส่วนนี้เป็นส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ฝั่งผู้ให้บริการมีหน้าที่จัดหามาให้ในปริมาณมาก แล้วนำมาแบ่งขายให้ผู้ใช้บริการโดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการแค่ไหน ยกตัวอย่าง เช่น Dropbox ที่มีขนาด Storage ใหญ่มโหฬารมาก หน้าที่ของ Dropbox คือหา Storage มาให้บริการ จะซื้อ Hard Disk มากี่ลูก ลูกละกี่ TB แล้ว physical อยู่ที่ประเทศไหน จากนั้นก็นำมาจัดการแบ่งขายเป็น package ที่เราเห็นๆ กัน ซึ่งในมุมของผู้ใช้งาน ก็ขอแค่เพียงใช้ Storage ได้ตาม package ที่จ่ายตังค์ไป โดยไม่ต้องไปสนว่าถ้าเรามีไฟล์ 1,000 อัน มันจะถูกเอาไปเก็บไว้ที่ Hard disk ลูกไหน หรืออยู่ลูกเดียวกันหรือเปล่า แต่สำหรับ Content ที่ต้องการความเร็วก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณาว่าจะถูกส่งถึงผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว เช่น YouTube เป็นต้น พูดง่ายๆ คือ ให้มองข้าม Spec ของ Hardware แต่ละชิ้น เพราะทุกอย่างจะถูกนำมารวมกัน แล้วสามารถเลือกได้ว่าจะใช้อะไรเท่าไหร่ได้ตามใจชอบ


4. เพิ่ม ลด ขยายได้อย่างรวดเร็ว (Rapid elasticity)
จุดนี้คือจุดต่างระหว่าง Legacy Infrastructure กับ Cloud Infrastructure โดยสิ้นเชิง จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้สัมผัสกับระบบขนาด SMB ไปถึง Enterprise สิ่งหนึ่งที่พบก็คือ Hardware ต่ำเกินไปหรือไม่ก็สูงลิป ไม่ว่าจะแบบไหนก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเอง แต่ที่สำคัญคือเวลาจะ เพิ่ม-ลด Spec Hardware สักทีนี้ ปวดตับทั้งผู้ซื้อ, ผู้ขายและผู้ดูแล คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับ ว่าเวลาที่คาดการณ์อะไรแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างที่หวังนี้เจ็บกันถ้วนหน้า และอีกอย่างก็คือบางเวลาระบบต้องรองรับ Load อย่างหนัก เช่น ตอนเปิดให้จองตั๋ว Concern หรือจองตั๋วเครื่องบิน 0 บาท เรียกได้ว่าพาไป Waiting Room กันไม่ทันหรือล่มไปเลยก็มี ในช่วงเวลานั้นทีม IT นี้บีบหัวใจกันสุดว่าระบบที่จ่ายเงินแสนแพงไปนั้นจะรอดหรือร่วง? และฮวยจะออกที่ใคร... ปัญหาเหล่านี้ Cloud Infrastructure จะตอบโจทย์และช่วยแก้ปัญหาท่านได้ เพราะ Resource อันมหาสารทุกส่วนตั้งแต่ส่วน Infra ไปยัง App เราสามารถเลือกได้ว่าจะเพิ่ม จะลดในช่วงเวลาในได้ วันไหนจะทำ Pro ให้คนเข้ามาใช้ App เยอะๆ เราก็ไปเพิ่ม Resource ซะ แล้วก็ตั้งให้มัน Burst ตัวเองขึ้นไปได้ แต่ส่วนนั้นเราก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มไปนะครับ พอผ่านช่วงเวลานั้นไป เราก็มาปรับลด Resource ลงให้เหมาะสม ทำให้ขจัดปัญหาเรื่อง ขาดๆ เกินๆ ไปได้นั้นเอง


5. จ่ายเท่าที่ใช้ และสามารถวัดปริมาณการใช้งานได้ (Measured service)
เดือนนี้ต้องใช้ เดือนหน้าเลิกใช้ ก็จ่ายตังค์แค่นั้น ผู้ให้บริการจะเก็บเงินจากเราตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ละ CSP ก็จะมีวิธีการแตกต่างกันออกไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วส่วนที่เราต้องจ่ายตั้งแต่ต้นก็คือส่วน Compute Service เพราะเขาจะต้องแบ่ง Resource ส่วนหนึ่งกันไว้ให้เราใช้ ส่วนต่อมาก็คือ License ของโปรแกรมที่เราเลือกใช้ เช่น Windows license, SQL license เป็นต้น ส่วนถัดมาก็คือ Bandwidth ที่ใช้ส่วนใหญ่จะเก็บเงินเราโดยคิดว่าปริมาณฝั่งขาออก (Outbound) จากระบบ Cloud ตัวอย่าง เช่น เราอัพโหลดวีดีโอหนึ่งอันขนาด 500MB ไปไว้ใน Cloud ส่วนนี้จะไม่เสียเงิน แต่เมื่อไหร่ก็ก็ตามที่วีดีโออันนี้ถูกเรียกใช้จาก Cloud ก็จะถูกเก็บเงินทันที ในส่วนของรายละเอียดการคิดเงินเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องทำความเข้าใจและเลือกใช้ให้เหมาะสม บางอย่างควรจะอยู่ใน private cloud บางอย่างควรอยู่ใน public cloud หรือจะใช้เป็น hybrid แบ่งโหลดกันไป มิเช่นนั้นแล้วแทนที่จะประหยัด อาจกลายเป็นกระเป๋าฉีกแทน นอกจากเรื่องเงินแล้ว CSP บางเจ้ายังมีบริการประเภท Analytic ที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ปริมาณการใช้งานที่ผ่านมา ทำให้ช่วยคาดการณ์ล่วงได้ว่าแนวโน้มการใช้ Resource ในอนาคตจะเป็นอย่างไร


ขอบคุณมากที่ทนอ่านจนจบนะครับ แล้วอย่าลืมติดตามกันต่อในตอนหน้า ยังคงเป็นเรื่อง Cloud ครับ
ขอบคุณครับ

ณัฐพล เทพเฉลิม

Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment