ประกาศ

ช่วงนี้ผู้เขียนกำลังทำงานด้านระบบคลาด์ Amazon Web Services (AWS) ให้พร้อมใช้งานกับประเทศไทยอยู่นะครับ อาจจะไม่ได้ลงบทความใหม่ๆ อีกสักระยะ สามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่ www.gosky.co.th นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

ตอนที่ 1 - Cloud Computing คือ?




คงเป็นคำถามของใครหลายๆ คนว่า Cloud นั้นคืออะไร? ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ Cloud คือ คำที่ใช้เรียกแทนระบบที่มีลักษณะที่ว่า "ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานระบบใดๆ จากผู้ให้บริการที่ได้ตระเตรียมบริการนั้นไว้ให้เรียบร้อยแล้ว จนอยู่ในระดับที่พร้อมใช้งานได้ทันที" ลักษณะของระบบ Cloud ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในวงการ IT เท่านั้น แต่เรายังพบเห็นได้ในทุกระบบงานตามนิยามที่ได้กล่าวไว้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจให้เช่ารถยนต์, ธุรกิจไฟฟ้า น้ำประปา, ธุรกิจปั้มน้ำมัน หรือแม้แต่ 7-11 ผมเองก็ยังมองว่าเป็น Cloud รูปแบบหนึ่ง เช่นกัน จะเห็นได้ว่าผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่าอาหารที่อยู่ใน 7-11 นั้นผลิตมาจากไหน มียี่ห้ออะไรบ้าง ใครเป็นผู้ผลิตเจ้าของสิ่งที่เรากำลังจะซื้อ หรือรถยนต์ที่เรากำลังจะเช่านั้นซื้อมาจากที่ไหน ต่อทะเบียนหรือยัง และหากเป็นระบบไฟฟ้าและน้ำประปายิ่งเห็นชัดว่า เสียบปลั๊กปุ๊บใช้ได้เลย เปิดก๊อกน้ำ น้ำก็ไหลเลย และที่สำคัญจ่ายเท่าที่ใช้! ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เรากำลังจะใช้นั้น ได้ผ่านกระบวนการเตรียมการมาจนถึงจุดที่ว่า ตอบสนองเราได้ทันที

กลับมาสู่โลกของ IT เราเรียกระบบแบบนี้ว่า Cloud Computing ซึ่งจะเป็นระบบนี้ได้นั้นจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ประเภทของบริการ, ลักษณะเฉพาะตัว และการนำไปใช้งาน บทความอันนี้ผมจะเขียนถึงส่วนแรกก่อนเท่านั้นนะครับ

1. ประเภทของบริการ (Service Models) มี 3 แบบ ได้แก่
1-1 บริการโครงสร้างระบบ Infrastructure as a Service (IaaS) - เช่น Microsoft Azure หรือ GoGrid ที่ผู้ใช้สามารถเลือก spec ของ server ได้เอง ทั้ง CPU, RAM หรือ Storage รวมถึงยังมีบริการอื่นๆ เช่น Load Balance, Firewall, Analytic ที่มีให้เลือกใช้เป็น on top ได้อีกด้วย แน่นอนว่าผู้ที่จะเลือกใช้บริการนี้ต้องเป็นกลุ่ม Engineer หรือ System Admin โดยมี requirement ระดับหนึ่งมาจาก Developer อีกที

1-2 บริการระบบไว้พัฒนาซอฟท์แวร์ Platform as a Service (PaaS) - เช่น App Engine ของ Google หรือ Force.com engine ของ Saleforces.com ซึ่งในระดับผู้ใช้งานจะเป็นเหล่า App/Software Developer โดยสามารถเข้ามาใช้ Engine ที่ผู้ให้บริการได้เตรียมไว้ให้แล้ว เช่น อยากเขียน java หรือ PHP หรือ Database ก็สามารถนำมาพัฒนาได้ที่นี้ ไม่ต้องไปนั่งเสียเวลาซื้อ Server ลง OS ตามด้วยลง library ต่อสาย LAN อะไรทั้งหลายแหล่ เพราะทุกอย่างถูกเตรียมไว้ให้เรียบร้อยแล้วหมดแล้ว

1-3 บริการโปรแกรมกึ่ง/สำเร็จรูป Software as a Service (SaaS) - เช่น Dropbox ที่เพียงแค่เข้าเว็บก็ใช้บริการ Cloud Storage ได้เลย ขยายหรือลดความจุได้ตามต้องการ หรือจะเป็นระบบ CRM ของ saleforces.com ที่จ่ายเงินและเปิดระบบก็ได้ใช้งาน CRM ทันทีไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์หรือพัฒนาโปรแกรมเองเลย ในระดับของ SaaS นี้อธิบายง่ายๆ ว่าเป็นโปรแกรมกึ่งสำเร็จรูปหรือสำเร็จรูปที่พร้อมให้ใช้งานได้ทันที และสามารถเรียกใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา

หากยังไม่เห็นภาพให้ลองดูจากพีระมิดด้านล่างครับ จากนั้นให้คิดว่าหน้าที่ของตัวเองอยู่ที่จุดไหน เป็นผู้ใช้งานโปรแกรมโดยตรงหรือเปล่า? เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมให้ผู้อื่นใช้หรือเปล่า? หรือจะเป็นผู้ที่ต้องวางแผนเกี่ยวกับ Server หรือ Network หรือ Security หรือเปล่า? ในมุมมองของผู้ที่จะใช้บริการ Cloud Computing นั้นมีตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยครับ





จากรูปพีระมิดจะคว่ำหงายได้หมด เพราะมันคือโครงสร้างเดียวกัน เราจะเห็นแต่ละส่วนจะถูกนำไปใช้งานและยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีหน้าที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ Computer Engineer ไปจนถึง End User โดยมี Developer อยู่ตรงกลาง รวมถึงผู้ให้บริการแต่ละรายที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน ในปัจจุบันบางเจ้าอย่าง Amazon และ Microsoft ก็ให้บริการครบทั้ง 3 Services เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเลือกใช้บริการเจ้าไหนก็ให้ลองศึกษาหาข้อมูล ข้อดีข้อเสียกันเพิ่มเติมนะครับ

สำหรับผู้บริการ Cloud Computing ให้ประเทศไทยส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปที่ IaaS รองลงมาเป็น SaaS ส่วน PaaS นั้นเท่าที่ผมทราบ ยังไม่มีเลย ส่วนสาเหตุนั้นโดยส่วนตัวคิดว่า IaaS นั้นคือส่วนแรกที่ต้องมีเพราะคือฐานที่จะนำไปต่อยอดอีก 2 ส่วน และ SaaS คือส่วนที่ง่ายที่สุดเพราะเพียงแค่เอาโปรแกรมสำเร็จรูปไว้วางไว้ใน IaaS แล้วปรับแต่งอีกนิดหน่อยก็สามารถเปิดให้บริการได้ และสำหรับ PaaS นั้นที่ยังไม่มีเลยในประเทศไทยหรือแม้กระทั้งผู้ให้บริการต่างประเทศก็เถอะก็ยังมีน้อยเจ้าที่ให้บริการ คงเพราะความซับซ้อนในการออกแบบและ Core Engine ก็มีเจ้าของเป็นตัวบิ๊กๆ ทั้งนั้น การให้บริการจึงกระจัดกระจายไปตาม Provider ที่เป็นเจ้าของ Core Engine นั้น ยกเว้นแต่ว่าเป็น Open Source ก็อีกเรื่องหนึ่ง

โปรดติดตามตอนต่อไป "ลักษณะเฉพาะตัวของ Cloud Computing 5 ประการ"
ขอบคุณครับ

ณัฐพล เทพเฉลิม

Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment