ประกาศ

ช่วงนี้ผู้เขียนกำลังทำงานด้านระบบคลาด์ Amazon Web Services (AWS) ให้พร้อมใช้งานกับประเทศไทยอยู่นะครับ อาจจะไม่ได้ลงบทความใหม่ๆ อีกสักระยะ สามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่ www.gosky.co.th นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

อักษรย่อ งาน IT



อักษรย่อควรรู้ ที่ต้องเจอในตอนทำงานด้านการพัฒนาและติดตั้งระบบ (SI).
Abbreviation words you may found in System Integrated.


ในการทำงานทุกสายงาน จริงๆ แล้วแต่ละคนก็จะมีคำศัพท์เฉพาะทางที่มักใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว และภาษาพูดมักจะใช้คุยกันโดยใช้ตัวย่อ เพราะสามารถพูดและจดจำได้ง่าย แต่ในหลายๆ ครั้งที่เราได้ยินคำเหล่านั้นแต่ไม่รู้ความหมายหรืออักษรเต็มว่าคืออะไร ซึ่งก็จะทำให้เราเอ่อได้ ดังนั้นแล้วเรามาเรียนรู้กันดีกว่าครับ ผมไม่ได้เขียนตามเรียงตามอักษรแต่จะเรียงตามขั้นตอนว่าแต่ละคำจะใช้ในช่วงไหนของโปรเจค



End User/Customer = ผู้ซื้อ,ลูกค้า,ผู้นำสินค้าไปใช้งาน เช่น DTAC, True, AIS, ปตท., โรงพยาบาล, หน่วยงานราชการ
Vendor/Reseller = ผู้ขายตรง, ผู้ติดตั้ง, ผู้ให้บริการ Service เช่น DCS, MFEC, G-Able, Dimenstion Data
Distributor = ผู้ขายส่ง, ผู้ขายของให้กับ Vendor เจ้าต่างๆ, ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Product, ตัวแทนติดต่อกับ Product
Product = เจ้าของผลิตภัณฑ์ เช่น Check Point, Juniper, McAfee, BlueCoat, Fortinet, F5
Logistic = ทีมรับ-ส่งของ

Bid = การเข้าร่วมแข่งขันกับเจ้าอื่นเพื่อขายของ


PR = Purchase Requisition หรือ Purchase Request
เป็นเอกสารภายในของฝั่งผู้ซื้อจัดทำขึ้น เพื่อใช้สำหรับการขออนุมัติสั่่งซื้อสินค้าจากผู้ขายภายนอก ตัวอย่างเช่น ฝ่าย IT ต้องการจัดซื้อ Firewall ดังนั้นฝ่าย IT จะต้องเขียน PR เพื่อส่งต่อให้ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ จากนั้นก็จะถูกส่งต่อไปให้ฝ่ายจัดซื้อเพื่อดำเนินการสั่งซื้อ Firewall จากผู้ขายต่อไป



TOR = Terms of Reference
ภาษาทั่วไปเรียกว่า“การจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา” เป็นเอกสารที่กําหนดขอบเขตและรายละเอียดของภารกิจ พูดกันให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เอกสารข้อกำหนดต่างๆ ที่ End User ระบุขึ้นมา เพื่อให้ Vendor ซึ่งมีหลายเจ้า ทำการเสนอยี่ห้อ รุ่น และขอบข่ายงาน เพื่อให้บรรลุผลตามความต้องการของผู้ซื้อ TOR ที่ถูกเขียนขึ้นมาเจาะจงยี่ห้อ และผู้ขาย ซึ่งมักจะเป็นที่มาของคำว่า "ล็อค spec" กันนั้นหล่ะครับ เขาจะทำให้ในขั้นตอนนี้



POC = Prove of Concept
หน้าที่อันนี้จะเป็นของ PreSale ที่จะต้องนำอุปกรณ์ที่ต้องการขาย หรือทางผู้ซื้อต้องการให้นำเข้าไป
ทดสอบจริงในระบบของผู้ซื้อ เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าของหรือ Feature ที่มีอยู่ สามารถนำมาใช้งานได้จริง ไม่ได้โม้อย่างเดียว

การนำเข้าไปติดตั้งนั้นก็มีหลายรูปแบบ อาจจะนำเข้าไปวางขวางระบบ Production เลย หรืออาจไปรับ Mirror Traffic หรือเรียกว่า Span Port เพื่อนำ Traffic มาดูผ่านทางอุปกรณ์นี้ ขึ้นอยู่กับประเภทหรือความเหมาะสมของระบบที่จะนำไปติดตั้ง ต่อมาหากว่า POC ผ่าน และผู้ซื้อพอใจการทำงานของอุปกรณ์ก็จะเป็นหน้าที่ของ PostSale ที่จะนำอุปกรณ์ตัวจริงเข้าไปติดตั้ง




PO = Purchase Order
เป็นเอกสารการขอสั่งซื้อจากฝ่ายจัดซื้อของผู้ซื้อที่จะส่งให้กับผู้ขาย ว่าต้องการสั่งซื้ออุปกรณ์ตามรุ่นและ spec ที่กำหนด ตัวอย่างเช่น หลังจากผ่านขั้นตอน PR แล้ว ทางฝ่ายจัดซื้อของผู้ซื้อก็จะส่งใบ PO ให้กับผู้ขายหรือ Vendor เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้สั่งซื้อ Firewall ยี่ห้อ Check Point รุ่น 4407 จำนวน 1 ตัวพร้อม MA จำนวน 3 ปีเป็นต้น ดังนั้นถ้าหากไม่มี PO ทาง Vendor ก็จะไมสามารถสั่งซื้อของจาก Distributor ได้ หรือเสี่ยงต่อการสั่งของแล้วขายออกไม่ได้ หากทางผู้ซื้อยกเลิกการซื้อขายนั้นเอง




SLA = Service Level Agreement
ข้อตกลงการให้บริการที่ผู้ซื้อกับผู้ขายทำตกลงกันไว้ อย่างเช่น อุปกรณ์ของลูกค้ามีปัญหา เราจะต้องเข้าไป on-site support ภายใน 4 ชั่วโมง และจะต้องนำอุปกรณ์ตัวใหม่หรือสำรองเข้ามาเปลี่ยน เพื่อให้ระบบสามารถทำงานต่อได้ ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

โดยทั่วไปแล้วก็จะมีแบบ 7x24x4 และ 5x8 (Business day) ถ้าหากผู้ให้บริการไม่สามารถทำตามข้อตกลงได้ ก็อาจจะมีค่าปรับ หรือเสียชื่อเสียงด้านการ support ไปเลย การทำ SLA นั้นจะมีลักษณะเป็นทอดๆ ตามด้านล่าง
End User <> Vendor
Vendor <> Distributor
Distributor <> Product




MA = Maintenance Agreement
ข้อตกลงว่าด้วยการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ ระหว่าง Customer และ Vendor / Distributor ว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้รับการรับประกันและดูแลโดยใคร ตัวอย่างเช่น IPS ของลูกค้า A ได้ต่อ MA กับ DCS เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยทาง DCS จะต้องเข้ามาทำการตรวจสอบอุปกรณ์พร้อมทำ Report ทุกๆ 3 เดือน หรือขึ้นอยู่กับข้อตกลง ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ลิฟท์ เราจะเห็นว่ามีเอกสารว่าลิฟท์ตัวนี้ได้รับการดูแลจากบริษัทอะไร โดยใคร และเข้ามาตรวจสอบครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ เพื่อทำให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้รับการดูแล หรือมีประกันอยู่



UAT = User Acceptance Test
การทำ UAT จะเกิดหลังจากผู้ขายได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์และ Setup อุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต่อมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบว่าอุปกรณ์นั้นสามารถทำงานได้เป็นปกติทั้งในด้านของ Hardware, Software และ Feature โดยทางผู้ขายจะต้องเป็นผู้จัดทำเอกสาร UAT และส่งให้ผู้ซื้อดูก่อน หากตกลงก็จะทำ UAT ตามหัวข้อในเอกสาร

ด้าน Hardware ก็จะเช็คข้อมูลเกี่ยวกับรุ่น, ไฟแสดงสถานะ, Power Supply, พัดลมระบายความร้อน เป็นต้น

ด้าน Software ก็จะเช็คว่าเกี่ยวกับ OS, Firmware ว่าเป็น version ใหม่หรือยังได้รับการ Support จากเจ้าของผลิตภัณฑ์อยู่หรือไม่ เป็นต้น

ด้าน Feature ก็จะทำการทดสอบว่า สามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือตาม TOR ที่ระบุดไว้หรือไม่ เช่น สามารถตรวจจับการโจมตีได้จริง สามารถทำ Fail-Open ตัวเองได้ สามารถใช้งาน VPN Client to site ได้ สามารถทำ High Availability ได้ เป็นต้น



ORT = Operation Readiness Template
คำนี้ค่อนข้างเจอน้อย ซึ่งจะหมายถึงเอกสารการใช้งาน โดยจะพุ่งเน้นไปที่ Configuration หรือ Feature ที่อุปกรณ์นั้นใช้งานอยู่ เพื่อที่ Admin จะสามารถอ่านและเข้าใจได้โดยง่าย เอกสารนี้จะถูกทำขึ้นโดย Vendor และส่งต่อให้ Customer เพื่อใช้ในการ Manage อุปกรณ์


OJT = On the Job Training
เป็นการสอนการใช้งานอุปกรณ์ให้กับ Customer เบื้องต้น เนื้อหาในการสอนจะเน้นไปทางการใช้งานจริง ที่จะต้องใช้เป็นประจำ เพื่อให้ Admin สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็น Load Balance ก็จะเน้นไปที่วิธีการทำ LB, Algorithm, Health Check, Statistics, การดูสถานะของอุปกรณ์, Backup, Restore เป็นต้น

รูปแบบของการสอนขึ้นอยู่กับผู้สอนซึ่งอาจจเป็น ฉายขึ้น slide หรือแค่อธิบายหน้างาน โดยจะพิจารณาจากความรู้ ความสามารถของ Admin ด้วย หากผู้สอนสอนดี ครอบคลุมเนื้อหา ผู้เรียนเข้าใจ ก็จะช่วยลดงานในการตอบคำถามพื้นฐานของ Support และความรวดเร็วในการทำงานของลูกค้าเองด้วย


PM = Preventive Maintenance
การทำ PM คือการที่ Vendor เข้าไปตรวจสอบอุปกรณ์ให้กับ Customer ที่ site งาน เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์อยู่ในสภาพปรกติและพร้อมใช้งาน เหมือนเราต้องเอารถเข้าไปตรวจเช็คที่ศูนย์ตามระยะนั้นเอง การทำ PM นั้นมีหลายช่วงระยะเวลา บางที่อาจเป็น Quarterly, Semi, Year ขึ้นอยู่กับตกลงที่ทำกันไว้

ในการทำ PM แต่ละครั้ง จะมีหัวข้องานที่จะทำ ดังนี้
1. Check Utilization
2. Check Hardware status
3. Check Software status
4. Check Configuration
5. Check System log
6. Backup Configuration
7. Reporting



RMA = Return Material Authorization
คำนี้ความหมายค่อนข้างกว้างมาก แต่การนำมาใช้พูดจริงจะหมายถึง 2 อย่างคือ
1. RMA Process
2. RMA box
กรณีอุปกรณ์ที่เราขายให้ลูกค้า เสีย(Hardware failure ซึ่งไม่สามารซ่อมเองได้) ทาง Vendor ายจะเป็นผู้แจ้งไปยัง Distributor หรือ Product เพื่อให้ TAC ของ Prodcut ตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากอะไร หรือเกิดจาก Hardware หรือไม่ จนท้ายที่สุดถ้าหากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ (ส่วนใหญ่ Hardware พัง เช่น Hard disk เสีย, พัดลมไม่หมุน ) ทาง TAC จะอนุมัติให้ทำ RMA Process นั้นก็คือว่า ส่งอุปกรณ์ที่เป็นรุ่นเดียวกัน มาให้ซึ่งจะเรียกกันว่า RMA box จากนั้นเมื่อทำการเปลี่ยนอุปกรณ์แล้ว ทาง Vendor ก็จะมีหน้าที่ส่ง Defective box (อุปกรณ์ที่เสีย) กลับไปให้ Product โดยผ่าน Distributor อีกที


Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment